ดีลอยท์เผย บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในเอเชียแปซิฟิกมองการค้าดิจิทัลทางบวก และเทคโนโลยีและการสร้างแบรนด์เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

by TeawFinKinShop
  • การค้าเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของกิจกรรมทางการค้าทั่วโลกในปี 2023
  • ร้อยละ 71 ของบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กมองการค้าดิจิทัลข้ามพรมแดนทางบวก
  • ร้อยละ 88 และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ พร้อมกำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น big data, AI และระบบชำระเงินออนไลน์มาปรับใช้เพื่อขยายธุรกิจ
  • ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าสู่ digital transformation ด้วยการลงทุนใน cloud computing, AI และ 5G ดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก พร้อมขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

ดีลอยท์ (Deloitte) เผยผลรายงานการสำรวจล่าสุด พบบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเร่งปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้น และเพิ่มการลงทุนในด้านการสร้างแบรนด์ ขณะที่มองอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าดิจิทัลทางบวก

รายงาน “Going-Global: Seizing the Next Great Opportunity in Digital Trade” ที่ดีลอยท์ร่วมทำกับเวิลด์เฟิร์ส (WorldFirst) เผยว่าเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหลัก ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน อย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายปกป้องทางการค้าที่เพิ่มขึ้น การนำเข้าและส่งออกสินค้าของเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของกิจกรรมการค้าโลก มีมูลค่าเกือบ 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30% จาก 13.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2013 เวิลด์เฟิร์ส เป็นแพลตฟอร์มการชำระเงิน และบริการทางการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับธุรกิจทั่วโลก โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการค้าระหว่างประเทศ

ร้อยละ 71 ของบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในเอเชียแปซิฟิกที่ร่วมตอบแบบสำรวจ ซึ่งดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าดิจิทัล ยังมองอนาคตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนทางบวก แสดงให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่มั่นใจในความต้องการของตลาด นโยบายของภาครัฐ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยคาดว่าตลาดจะขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมยอดขาย และกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ขณะเดียวกันร้อยละ 88 ของบริษัทที่ร่วมตอบแบบสำรวจ ระบุว่าการสร้างแบรนด์มีความสำคัญต่อการรักษาการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว การสร้างแบรนด์ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด แต่ยังเพิ่มความภักดีของลูกค้า (customer loyalty) และส่วนแบ่งทางการตลาดอีกด้วย เหตุนี้ร้อยละ 68 ของบริษัททั้งหมดจึงระบุว่าจะเพิ่มการลงทุนในด้านการสร้างแบรนด์

รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นถึง digital transformation ของประเทศไทยที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และการลงทุนในด้าน cloud computing, AI และ 5G ช่วยผลักดัน รวมไปถึงโครงการ และการลงทุนต่าง ๆ ของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ และนโยบายภาครัฐที่เอื้อต่อการขยายตัวของระบบนิเวศดิจิทัล ความพยายามเหล่านี้กำลังส่งเสริมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน อีกทั้งกระตุ้นให้ธุรกิจไทยนำเครื่องมือด้าน AI และเทคโนโลยี automation มาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และความท้าทายอื่น ๆ

อุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการลงทุนอย่างมาก ประเทศไทยกำลังพัฒนาสภาพแวดล้อมดิจิทัลโดยการขยายบริการ PromptPay ไปยัง 8 ประเทศ และพัฒนา QR Code สำหรับการชำระเงินร่วมกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะขยายภาคอีคอมเมิร์ซให้มีมูลค่าเกิน 7.1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2027 โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี แผนปฏิบัติการพัฒนาอีคอมเมิร์ซแห่งชาติ ระยะที่ 2 (2023-2027) จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล การแบ่งปันข้อมูล ความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และการขยายการค้าขายออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Money Expo Bangkok 2024 ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการพัฒนาด้านการเงินดิจิทัล ด้วยจำนวนบัญชีดิจิทัลมากกว่า 320 ล้านบัญชี และความพยายามในการยกระดับความรู้ทางการเงิน โครงการเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการบูรณาการทางการเงินในภูมิภาค โดยตลาดการชำระเงินดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะเติบโตเกิน 2.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้

ธุรกิจข้ามพรมแดนต่างมองหาแพลตฟอร์มสำหรับการชำระเงิน และบริการทางการเงินแบบครบวงจร

รายงานของดีลอยท์-เวิลด์เฟิร์ส พบว่าบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กเริ่มดำเนินธุรกิจหลายประเภทในตลาดอีคอมเมิร์ซมากกว่าหนึ่งแห่ง และจัดตั้งธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น โดยการแข่งขันในอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่ดุเดือดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ส่งผลให้ธุรกิจข้ามพรมแดนต่างมองหาผู้ให้บริการการชำระเงิน และบริการทางการเงินแบบครบวงจร

ด้วยเหตุนี้บริษัทชำระเงินทางการค้าข้ามพรมแดน รวมถึงเวิลด์เฟิร์ส จึงได้พัฒนาไปใช้แพลตฟอร์มแบบครบวงจรที่ให้บริการชำระเงิน ตลอดจนการจัดหาเงินทุนทางการค้า และบริการทางการเงินอื่น ๆ นอกจากนี้บริษัทเหล่านี้ยังได้บูรณาการบริการห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต และห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า เช่น โลจิสติกส์ การเก็บภาษี และการโฆษณา เพื่อรองรับสถานการณ์ทางธุรกิจต่าง ๆ ของผู้ค้าเหล่านี้ด้วย

Clara Shi, CEO, เวิลด์เฟิร์ส กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับดีลอยท์เพื่อสำรวจโอกาส และความท้าทายที่บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กต้องเผชิญในปัจจุบัน ผลของรายงานฉบับนี้ถูกเรียบเรียงมาเพื่อสนับสนุน SMEs ทั่วเอเชียแปซิฟิกในการใช้ประโยชน์จากการค้าดิจิทัลข้ามพรมแดนที่มีศักยภาพสูงได้ดียิ่งขึ้น”

ผลการวิจัยที่สำคัญจากรายงาน Going Global: Seizing the Next Great Opportunity in Digital Trade’:

  • การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จะนำไปสู่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในบริษัทข้ามชาติขนาดเล็ก ปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ร้อยละ 75) เป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่รู้จัก และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ตามมาด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) (ร้อยละ 47) เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ รวมไปถึงประสบการณ์ของลูกค้า ขณะเดียวกันการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการชำระเงิน/หนี้ (ร้อยละ 20) และการจัดการความเสี่ยง (ร้อยละ 18) ก็แสดงให้ว่าองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและเสถียรภาพ
  • การค้าดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกกำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2022 อัตราการเติบโตรายปีของการส่งออกบริการที่ส่งมอบผ่านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ร้อยละ 10.3 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 7.1 ตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคนี้ ได้แก่จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ขณะที่สหภาพยุโรป (EU) และอเมริกาเหนือถือเป็นพันธมิตรการค้าภายนอกหลักของภูมิภาค โดยคิดเป็นร้อยละ 27 และ 20 ของตลาดส่งออกของเอเชียแปซิฟิก ตามลำดับ

รายงานดีลอยท์-เวิลด์เฟิร์สพัฒนาดัชนีขึ้นใหม่เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมการค้าดิจิทัล และแนวโน้มการเติบโตสำหรับแต่ละประเทศ

  • ตลาดที่มีศักยภาพสูง: อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์
  • ตลาดที่เติบโตเต็มที่: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
  • ตลาดที่กำลังเติบโต: กัมพูชา เมียนมาร์ และลาว
  • ตลาดที่เริ่มแสดงศักยภาพ: บรูไน

งานวิจัยของดีลอยท์ได้ทำการสำรวจ SMEs ที่ทำธุรกิจข้ามพรมแดนประมาณ 300 ราย ซึ่งโดยทั่วไปมีพนักงานน้อยกว่า 500 คน และมีฐานการดำเนินงานหลักในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Cheng Zhong, managing partner of Technology, Media and Telecommunications Industry, ดีลอยท์ China, กล่าวว่า “ธุรกิจการค้าดิจิทัลกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจ และ value chain หรือห่วงโซ่คุณค่า ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ตลาดโลกมีสินค้าและบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ยังช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ที่ราบรื่นทั่ว value chain โลก”

Lydia Chen, ดีลอยท์ China Research partner กล่าวว่า “SME ส่วนใหญ่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญไปสู่อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน โดยใช้ประโยชน์จากองค์กรแพลตฟอร์ม เครือข่ายบริการระหว่างประเทศที่คลอบคลุมกว้างขวาง และเทคโนโลยีดิจิทัล”

You may also like

Green House Media and Event Co.,Ltd.

252 Soi Lat Phrao 93, Lat Phrao Road,
Khlong Chaokhun Sing, Wang Thonglang,
Bangkok 10310

Contact us: news@joinalife.com

© 2024 TeawFinKinShop. All rights reserved. Design & Developed By : R Web Design