บริษัทโตโยต้ามอเตอร์เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรยาวนานของ IUCN (สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ) ในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ จะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของฟอรัม 8th IUCN Asia Regional Conservation Forum (RCF) (ฟอรัมส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8) ที่กำลังจะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2567
โดยฟอรัม RCF ของเอเชียจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อเป็นเวทีชั้นนำด้านความรู้และความร่วมมือในภูมิภาค ซึ่งรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ในปีนี้ IUCN Asia จะจัด RCF ครั้งที่ 8 เพื่อหารือถึงแนวทางและการดำเนินการที่สำคัญเพื่อสร้างอนาคตเชิงบวกด้านธรรมชาติสำหรับเอเชียและระดับโลก โดยจะประกอบด้วยตัวแทนจากสหภาพแรงงาน พันธมิตร และผู้สนับสนุนประมาณ 500 คนจะมารวมตัวกันในงานที่จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วันที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ความร่วมมือเพื่อจัดฟอรัม RCF ในเอเชียครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความร่วมมือหลายครั้งระหว่าง IUCN และโตโยต้า ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2559 ด้วยการสนับสนุน IUCN Red List of Threatened Species™ (บัญชีแดงของ IUCN สำหรับสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์) ในระดับโลก สำหรับประเทศไทย โตโยต้าได้สนับสนุนแพลตฟอร์ม “Bio-Diversity Network Alliance (B-DNA)” ตั้งแต่ปี 2561 ผ่านเครือข่ายของบริษัทในประเทศและต่างประเทศที่มุ่งหวังสร้างการเรียนรู้แนวโน้มความหลากหลายทางชีวภาพใหม่ๆ และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ภายใต้ B-DNA โตโยต้าและ IUCN เอเชีย ซึ่งร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเพื่อทำความสะอาดชายฝั่งที่บริเวณบางปูและปลูกป่าชายเลนร่วมกับบริษัทจำนวน 14 แห่งในปีพ.ศ. 2562 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สะท้อนถึงความพยายามในการแก้ปัญหามลภาวะจากพลาสติก ส่งเสริมกิจกรรมปลูกป่า และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
IUCN Asia Regional Conservation Forum ครั้งที่ 7 ที่ประเทศปากีสถาน
ดร. ดินโดคัมปิลันผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ IUCN และผู้อำนวยการศูนย์กลางโอเชียเนียกล่าวว่า “เราให้ความสำคัญกับความคิดของโตโยต้าในการส่งเสริมธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในเอเชียและทั่วโลกเป็นอย่างยิ่งในฐานะพันธมิตรของ RCF โตโยต้าได้ช่วยจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับการประชุมและแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของเราที่มีมานานกว่าแปดปีเราหวังว่าความร่วมมือนี้จะเป็นรากฐานสำหรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอีกมากมายในภูมิภาคหลังจากการจัดฟอรัม RCF นี้” ทั้งนี้ “พันธมิตรฟอรัม” ถือเป็นระดับสูงสุดในประเภทผู้สนับสนุนทั้งสี่ประเภทที่มีอยู่ใน Asia RCF นับเป็นการทำให้โตโยต้าได้มีโอกาสได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งก่อนและระหว่างการจัดงาน
นายปาซานากาเนชรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า“โตโยต้ามุ่งมั่นในภารกิจเพื่อร่วมปกป้องทรัพยากรและจัดการผลกระทบทางนิเวศน์วิทยาโดยมุ่งหวังให้โลกมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อไปด้วยมรดกแห่งการดูแลสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ผ่านแผนความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า (Toyota Environmental Challenge: TEC) 2050 ซึ่งกำหนดขึ้นในปี 2015 อันสะท้อนถึงความมุ่งมั่นขององค์กรที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพการปกป้องสายพันธุ์และการฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยโดยโตโยต้าตั้งเป้าหมายในการที่จะร่วมมือกับ IUCN และ Asia RCF เพื่อร่วมผนึกกำลังกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้วยวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที”
TEC 2050 คือความท้าทายระดับโลก 6 ประการที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยมีเป้าประสงค์เพื่อก้าวข้ามผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม สู่การสร้างคุณค่าเชิงบวกให้กับโลกและสังคม โดยได้วางแนวทางเชิงองค์รวมและเชิงปฏิบัติของโตโยต้าในการค้นหาวิธีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านผลกระทบต่ออากาศ น้ำ วัสดุ และความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านความร่วมมือที่สำคัญและการเข้าถึง ซึ่งรวมถึงแนวทาง Multiple Pathway ที่นำเสนอโซลูชันการเดินทางที่ปล่อยมลพิษต่ำและปลอดมลพิษผ่านทางเลือกด้านเทคโนโลยีด้านการขับเคลื่อนอันหลากหลาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความเป็นจริงในแต่ละภูมิภาคและความต้องการด้านการเดินทางของลูกค้า โครงการความริเริ่มเหล่านี้เป็นคำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญและเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับโลกสำหรับยานพาหนะและการดำเนินงานทั้งหมดของเราภายในปี 2050
การประชุมฟอรัมการอนุรักษ์ธรรมชาติภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8 ของ IUCN จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับชาติของสมาชิก IUCN ในประเทศไทย ซึ่งมีเจ้าภาพร่วมกันโดยประกอบด้วยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลไทย จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “การคิดใหม่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ในเอเชีย: อนาคตเชิงบวกของธรรมชาติ” โดย RCF ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการประชุมการอนุรักษ์โลกของ IUCN ประจำปี 2025 เพื่อเป็นเวทีให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภูมิภาคได้หารือเกี่ยวกับลำดับความสำคัญหลักๆ และมีอิทธิพลต่อวาระการประชุมระดับโลก
การลงทะเบียนเข้าร่วมฟอรัม RCF สําหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สื่อมวลชน จะเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 โดยผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนผ่านลิงก์ (https://civicrm.iucn.org/event/asiarcf)
สำหรับสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมฟอรัม สามารถส่งอีเมลมาที่ kosuke.terai@iucn.org โดยทางผู้จัดจะส่งคำแนะนำพร้อมขั้นตอนการลงทะเบียนให้ท่าน ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้